Category Archives: ถนนกัลปพฤกษ์
ถนนกัลปพฤกษ์
ถนนกัลปพฤกษ์ เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งใน เขตบางบอน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปทางด้านตะวันออกของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตบางบอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตหนองแขม เขตบางแค และเขตภาษีเจริญ มีคลองหนามแดงและคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตจอมทอง มีคลองวัดสิงห์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่–มหาชัยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรสาครและอำเภอกระทุ่มแบน (จังหวัดสมุทรสาคร) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาครเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
บางบอนในอดีตเป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีความเก่าแก่อย่างน้อยตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีหลักฐานเป็นวรรณคดีหลายเรื่องที่กล่าวถึง ได้แก่ โคลงนิราศทวาย (โคลงนิราศไปแม่น้ำน้อย) ของพระพิพิธสาลีในสมัยรัชกาลที่ 1[2] โคลงนิราศนรินทร์ ของนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ในสมัยรัชกาลที่ 2[3] และ นิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่ในสมัยรัชกาลที่ 4[4][5] ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคโดยแบ่งออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน บางบอนจึงกลายมาเป็นท้องที่การปกครองของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี โดยในพื้นที่แถบนี้รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงมีการปรับเปลี่ยนเขตการปกครองหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2483 ทางราชการได้ยุบรวมท้องที่ตำบลบางบอนเหนือ ตำบลบางบอนใต้ และตำบลแสมดำเข้าด้วยกันและตั้งเป็น ตำบลบางบอน ขึ้น[6]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดธนบุรีถูกรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลบางบอนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางบอน และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน
ภายหลังในเขตบางขุนเทียนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศแยกพื้นที่แขวงบางบอนออกจากเขตบางขุนเทียนตั้งเป็น เขตบางบอน โดยสำนักงานเขตบางบอนได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[9] เป็นสำนักงานเขตลำดับที่ 50 ของกรุงเทพมหานคร เดิมตั้งอยู่ที่อาคารตลาดสดเทพยดาอารักษ์ หมู่ที่ 4 แขวงบางบอน[10] ต่อมาใน พ.ศ. 2547 ได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรที่ซอยเอกชัย 135/1 หมู่ที่ 3 แขวงบางบอน[10]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบแขวงบางบอนและตั้งแขวงขึ้นใหม่ 4 แขวง โดยมีถนนเอกชัยและถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน[11] ส่งผลให้เขตบางบอนในปัจจุบันประกอบด้วยแขวงดังต่อไปนี้
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2564) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2564) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
2.
|
บางบอนเหนือ | Bang Bon Nuea |
15.203
|
22,471
|
1,478.06
|
|
3.
|
บางบอนใต้ | Bang Bon Tai |
8.939
|
24,558
|
2,747.29
|
|
4.
|
คลองบางพราน | Khlong Bang Phran |
5.423
|
31,598
|
5,826.66
|
|
5.
|
คลองบางบอน | Khlong Bang Bon |
5.180
|
24,008
|
4,634.75
|
|
ทั้งหมด |
34.745
|
102,635
|
2,953.95
|
หมายเลขที่หายไปคือแขวงที่ถูกยุบเลิก
ประชากร[แก้]
ขยายสถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางบอน[12] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางบอน ได้แก่
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- กองกำกับการตำรวจม้า
- เรือนจำพิเศษธนบุรี
- ทัณฑสถานหญิงธนบุรี
- สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ 7
- วัดบางบอน
- โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน
- โรงเรียนศึกษานารีวิทยา
- โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคมรัชมังคลาภิเษก
ทางน้ำ[แก้]
|
|
เศรษฐกิจ[แก้]
เกษตรกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญในเขตนี้ พืชที่ปลูกได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้มัน มะพร้าว กล้วยไม้ และดอกบัว เป็นต้น[13]
ยาง MAXXIS i PRO กัลปพฤกษ์
ยาง MAXXIS i PRO กัลปพฤกษ์ Size 205/55 R15 สำหรับรถนั่งส่วนบุคคลแต่งหรูสไตล์รถสปอร์ต ร่องดอกยาง 4 แถว รีดน้ำดีเยี่ยมยึด เกาะถนนเปียก ...
ยาง Bighorn MAXXIS MT-764 ถนนกัลปพฤกษ์
ยาง Bighorn MAXXIS MT-764 ถนนกัลปพฤกษ์ Size 235/75 R15 ยางสำหรับสายลุยป่าแคมป์ปิ้ง กับสายแต่งรถสไตล์ ดอกยางควบคุมเยี่ยมขณะลุยโคลน-หินขรุขระ ...