Category Archives: ถนนกัลปพฤกษ์
ถนนกัลปพฤกษ์
ถนนกัลปพฤกษ์ เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งใน เขตภาษีเจริญ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปมีลักษณะกึ่งชนบทกึ่งชุมชนเมือง แต่ในพื้นที่เนื่องจากมีการขยายตัวของระบบสาธารณูปโภค
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตภาษีเจริญ ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี มีคลองบางกอกใหญ่และคลองด่านเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตบางบอน มีคลองวัดนางชี (คลองวัดเพลง) คลองตาม่วง คลองวัดโคนอน (คลองวัดอ่างแก้ว) คลองบางหว้า คลองสวนหลวงใต้ คลองรางบัว คลองตาฉ่ำ คลองบางประทุน ลำรางสาธารณะ คลองวัดสิงห์ และคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางแค มีคลองพระยาราชมนตรี คลองบางแวก คลองบางไผ่ และคลองลัดตากลั่นเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของคลองภาษีเจริญซึ่งขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2415 และชื่อคลองตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็นพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ ต้นสกุลพิศลยบุตร และบรรพบุรุษของราชสกุลกิติยากร) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้
ประวัติศาสตร์[แก้]
หลังการขุดคลองภาษีเจริญ ได้มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ ทางราชการจึงได้จัดตั้ง อำเภอภาษีเจริญ ขึ้นใน พ.ศ. 2442 มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี ใน พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วนที่ตั้งอยู่ริมคลองสายนี้ และใน พ.ศ. 2513 ได้ขยายเขตออกไปจนครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งอำเภอ (เหลือเพียงตำบลบางไผ่ ตำบลบางแวก ส่วนตำบลคูหาสวรรค์และตำบลปากคลองภาษีเจริญอยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2479)
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอภาษีเจริญจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตภาษีเจริญ ตั้งแต่นั้น มีหน่วยการปกครองย่อย 10 แขวง
ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดูแลแขวงบางแค บางแคเหนือ และบางไผ่ และใน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งพื้นที่ปกครองของสำนักงานเขตภาษีเจริญสาขาดังกล่าวออกไปตั้งเป็นเขตบางแค
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตภาษีเจริญแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 แขวง คือ
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2564) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1.
|
บางหว้า | Bang Wa |
5.105
|
37,232
|
7,293.24
|
|
2.
|
บางด้วน | Bang Duan |
2.514
|
27,643
|
10,995.63
|
|
6.
|
บางจาก | Bang Chak |
1.394
|
8,068
|
5,787.66
|
|
7.
|
บางแวก | Bang Waek |
3.022
|
18,466
|
6,110.52
|
|
8.
|
คลองขวาง | Khlong Khwang |
2.992
|
10,769
|
3,599.27
|
|
9.
|
ปากคลองภาษีเจริญ | Pak Khlong Phasi Charoen |
1.898
|
14,706
|
7,748.16
|
|
10.
|
คูหาสวรรค์ | Khuha Sawan |
0.909
|
5,940
|
6,534.65
|
|
ทั้งหมด |
17.834
|
122,824
|
6,887.07
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตบางแค
ประชากร[แก้]
ขยายสถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตภาษีเจริญ[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนน[แก้]
ถนนสายหลัก[แก้]
- ถนนเพชรเกษม ตัดผ่านพื้นที่ทางใต้ของเขตภาษีเจริญ ตัดผ่านทางด้านทิศตะวันออกไปยังทิศใต้ เริ่มต้นเข้าสู่เขตภาษีเจริญจากคลองบางกอกใหญ่ แขวงปากคลองภาษีเจริญ ต่อเนื่องมาจากแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ และไปสิ้นสุดที่คลองพระยาราชมนตรี แขวงบางหว้า ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงบางแค เขตบางแค ต่อไป
- ถนนราชพฤกษ์
- ถนนกัลปพฤกษ์
- ถนนพุทธมณฑล สาย 1
ถนนสายรอง[แก้]
- ถนนเทอดไท
- ถนนรัชมงคลประสาธน์ (เทอดไท / คลองภาษีเจริญ)
- ถนนศาลธนบุรี
- ถนนบางแวก
- ถนนราชมนตรี
- ซอยเพชรเกษม 48 / ซอยบางแวก 69 (วัดจันทร์ประดิษฐาราม)
รถไฟฟ้า[แก้]
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลหรือสายสีน้ำเงิน[แก้]
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (โครงการส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง–บางแค) เป็นโครงการยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ต่อเนื่องมาจากเขตบางกอกใหญ่ ผ่านพื้นที่เขตภาษีเจริญ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกและเข้าสู่เขตบางแค มีสถานีที่อยู่ในพื้นที่เขตภาษีเจริญทั้งหมด 4 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับทั้งหมด ได้แก่ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 และสถานีภาษีเจริญ ซึ่งในขณะนี้เปิดให้บริการแล้ว
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม[แก้]
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่ตัดผ่านในเขตภาษีเจริญ เป็นโครงการส่วนต่อขยายวงเวียนใหญ่–บางหว้า โดยเริ่มต้นเข้าสู่พื้นที่เขตภาษีเจริญจากเขตธนบุรี เป็นโครงการยกระดับตามแนวถนนราชพฤกษ์ สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมนั้น มีสถานีอยู่ในเขตภาษีเจริญ 1 สถานีและเป็นสถานีปลายทาง คือ สถานีบางหว้า
สถานที่สำคัญ[แก้]
ยาง MAXXIS ME-3 ถนนกัลปพฤกษ์
ยาง MAXXIS ME-3 ถนนกัลปพฤกษ์ Size 195/65 R15 สำหรับรถ Eco Car ทุกแบรนด์ ออกแบบขอบยางช่วยลดแรงต้านทานและช่วยประหยัดน้ำมัน ...
ยาง Bighorn MAXXIS MT-764 กัลปพฤกษ์
ยาง Bighorn MAXXIS MT-764 กัลปพฤกษ์ Size 245/75 R16 ขวัญใจสายลุยป่า คู่ใจสายแต่งรถ ยางสำหรับสายลุยป่าแคมป์ปิ้ง กับสายแต่งรถสไตล์ขาลุย ดอกยางใหญ่ควบคุมเยี่ยมขณะลุยโคลน หรือ บนหินขรุขระ ...
ยาง MAXXIS i PRO ถนนกัลปพฤกษ์
ยาง MAXXIS i PRO ถนนกัลปพฤกษ์ รถเก๋งซิ่ง กระบะซิ่ง Size 215/50 R17 ยางที่โดดเด่นด้วยลวกลายดอกยางสมรรถนะสูงเพิ่มความสปอร์ตให้กับภาพลักษณ์ของผู้ใช้งาน ...